การค้นพบสาหร่ายกินแบคทีเรีย อาจอธิบายได้ว่าพืชมีสีเขียวได้อย่างไร

5473 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การค้นพบสาหร่ายกินแบคทีเรีย อาจอธิบายได้ว่าพืชมีสีเขียวได้อย่างไร

           นักวิทยาศาสตร์มีแนวความคิดว่าพลาสติดที่อยู่ในพืช เกิดจากการที่พืช “กิน” แบคทีเรียบางชนิดที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ แล้วแบคทีเรียนั้นก็ดารงชีวิตอยู่ต่อในพืช แต่ไม่เคยพิสูจน์ทฤษฎีนี้ได้ เนื่องจากไม่เคยพบพืชหรือสาหร่ายที่กินแบคทีเรียเข้าไปได้ จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยจาก National Institute for Basic Biology ในโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นได้พบ Cymbomonas ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวที่ในสภาวะปกติจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้ แต่เมื่อนักวิจัยเลี้ยงสาหร่ายนี้ในสภาวะที่มีแสงน้อย สาหร่ายนี้จะกินแบคทีเรียด้วยวิธีฟาโกไซโทซิส แล้วผ่าน feeding tube จากนั้นย่อยด้วยเอนไซม์ในแวคิวโอล นักวิจัยคาดว่าสาหร่ายดึกดาบรรพ์ที่เริ่มมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้คงจะกินแบคทีเรียเข้าไป ด้วยวิธีการนี้เช่นกันแต่แบคทีเรียนั้นไม่ถูกย่อย แล้วหลุดรอดออกมาจากแวคิวโอลของสาหร่ายได้ จึงเกิดเป็นการดำรงชีวิตแบบ symbiosis ทาให้สาหร่ายสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ตั้งแต่นั้นมา
 
(ภาพจาก http://www.eurekalert.org/multimedia/pub/56906.php?from=240546)
 
อ้างอิง
"Hungry Pac-Man alga hints at origin of plants" Current Biology, doi.org/mm2
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร. รัชนีกร ธรรมโชติ สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้